“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 13 – 26 พฤศจิกายน 2567

“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 13 – 26 พฤศจิกายน 2567

โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชนิดต่างๆ การเกิดโรคระบาดในพืช การระบาดของแมลงศัตรู ตลอดจนข้อสังเกต ข้อควรระวัง แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ช่วงวันที่ 13 – 26 พฤศจิกายน 2567

– อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่ พืชที่อาจเกิดผลกระทบ ได้แก่

1.) ส้มโอ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง เพลี้ยแป้ง

2.) พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงพัฒนาผล ปัญหาที่ควรระวัง ไรแดงแอฟริกัน

3.) มะม่วง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงแทงช่อดอก-พัฒนาผล ปัญหาที่ควรระวัง 1.โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium mangiferae) 2. โรคราดํา (เชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp.) 3. เพลี้ยจักจั่นมะม่วง

4.) มันฝรั่ง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1.โรคใบไหม้ (เชื้อรา Phytophthora infestans) 2.โรคเหี่ยวเขียว (เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum)

5.) พืชตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Peronospora parasitica)

6.) ดาวเรือง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงตัดดอก ปัญหาที่ควรระวัง หนอนกระทู้ผัก

– มีฝนตก และฝนตกหนักมากบางพื้นที่ (ภาคใต้)

7.) ทุเรียน ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงเตรียมต้น (การเจริญทางใบ) ปัญหาที่ควรระวัง โรคใบติด

หรือใบไหม้ (เชื้อรา Rhizoctonia solani)