“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 2 – 15 ตุลาคม 2567
โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชชนิดต่างๆ การเกิดโรคระบาดในพืช การระบาดของแมลงศัตรู ตลอดจนข้อสังเกต ข้อควรระวัง แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ช่วงวันที่ 2 – 15 ตุลาคม 2567
– สภาพอากาศมีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ พืชที่อาจเกิดผลกระทบ ได้แก่
1.) พืชตระกูลกะหล่ำ และผักกาด (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง ด้วงหมัดผัก
2.) พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1.โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย (เชื้อไวรัส Tomato necrotic ringspot virus) 2.โรคใบด่างซีดพริก (เชื้อไวรัส Capsicum chlorosis virus)
3.) มะเขือเทศ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1.แมลงหวี่ขาวยาสูบ 2.โรคใบหงิกเหลือง (เชื้อไวรัส Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV)
4.) มะเขือเปราะ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ
5.) มะละกอ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงให้ผลผลิต ปัญหาที่ควรระวัง เพลี้ยแป้ง
6.) ทุเรียน ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงเตรียมต้น (การเจริญทางใบ) ปัญหาที่ควรระวัง โรคใบติดหรือใบไหม้ (เชื้อรา Rhizoctonia solani)
7.) ถั่วเหลือง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงฝักเต็ม – ฝักแก่ ปัญหาที่ควรระวัง 1.หนอนเจาะฝักถั่ว 2.มวนถั่วเหลือง
8.) ถั่วเขียว ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงฝักอ่อน – ฝักแก่ ปัญหาที่ควรระวัง 1.หนอนกระทู้ผัก 2.หนอนเจาะฝักถั่วมารูค่า 3.เพลี้ยอ่อน 4.เพลี้ยไฟ
9.) ถั่วลิสง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก – ติดฝัก ปัญหาที่ควรระวัง โรคลำต้นเน่าหรือโคนเน่าขาว(เชื้อรา Sclerotium rolfsii)