“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 4 – 17 กันยายน 2567
โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชชนิดต่างๆ การเกิดโรคระบาดในพืช การระบาดของแมลงศัตรู ตลอดจนข้อสังเกต ข้อควรระวัง แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ช่วงวันที่ 4 – 17 กันยายน 2567
– สภาพอากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ พืชที่อาจเกิดผลกระทบ ได้แก่
1.) ผักสลัด (โดยเฉพาะผักที่มี ใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง โรคใบจุด หรือใบจุดตากบ (เชื้อรา Cercospora lactucaesativae)
2.) พืชผักตระกูล กะหล่ำและผักกาด (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง โรคใบจุด (เชื้อรา Alternaria brassicicola และ A. brassicae)
3.) พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และ ส้มเขียวหวาน) ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง โรคแคงเกอร์ (เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas citri subsp. citri)
4.) ทุเรียน ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงเตรียมต้น (การเจริญทางใบ) ปัญหาที่ควรระวัง โรคใบติด หรือใบไหม้ (เชื้อรา Rhizoctonia solani)
5.) ลำไย ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงติดผล ปัญหาที่ควรระวัง หนอนเจาะขั้วผล
6.) ดาวเรือง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก – เก็บเกี่ยว ปัญหาที่ควรระวัง หนอนกระทู้ผัก
7.) ถั่วเหลือง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก – ติดฝักอ่อน ปัญหาที่ควรระวัง 1.หนอนกระทู้ผัก 2.หนอนม้วนใบ 3.มวนถั่วเหลือง 4.หนอนเจาะฝักถั่ว
8.) ถั่วเหลือง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก – ติดฝักอ่อน ปัญหาที่ควรระวัง 1.หนอนกระทู้ผัก 2.หนอนม้วนใบ 3.เพลี้ยไฟ 4.เพลี้ยอ่อน 5.หนอนเจาะฝักถั่วมารูค่า
9.) ปาล์มน้ำมัน ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงต้นปาล์มน้ำมันที่ มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป หรือ ปาล์มที่ปลูกซ้ำแปลงเดิมปัญหาที่ควรระวัง โรคลำต้นเน่า (เชื้อรา Ganoderma boninense)