“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2567

“เตือนภัยการเกษตร” ช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2567

โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพืชชนิดต่างๆ การเกิดโรคระบาดในพืช การระบาดของแมลงศัตรู ตลอดจนข้อสังเกต ข้อควรระวัง แนวทางแก้ไข/ป้องกัน ช่วงวันที่ 29 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2567

– สภาพอากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ พืชที่อาจเกิดผลกระทบ ได้แก่

1.) ทุเรียน ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงพัฒนาผล – เก็บเกี่ยว ปัญหาที่ควรระวัง 1.โรคผลเน่า (เชื้อราPhytophthora palmivora) 2.โรครากเน่า โคนเน่า (เชื้อรา Phytophthora palmivora)

2.) อโวคาโด ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงติดดอก – ผลอ่อน ปัญหาที่ควรระวัง 1.โรคจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)

3.) มะพร้าว ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงมะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิต และมะพร้าวที่ให้ผลิตแล้ว ปัญหาที่ควรระวัง 1.แมลงดำหนามมะพร้าว

4.) สับปะรด ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1. โรคยอดเน่า (เชื้อรา Phytophthora spp.)

5.) ถั่วฝักยาว ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก – ติดฝัก ปัญหาที่ควรระวัง 1.หนอนเจาะฝักถั่วลายจุด

6.) พริก ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต 1. โรคแอนแทรคโนสหรือโรคกุ้ง (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum)

7.) หอมแดงหัวพันธุ์ (หอมตาว), หอมแบ่ง ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงทุกระยะการเจริญเติบโต ปัญหาที่ควรระวัง 1. โรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อย หรือโรคหมานอน (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)

8.) กุหลาบ ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงออกดอก ปัญหาที่ควรระวัง 1. เพลี้ยไฟพริก

9.) ปาล์มน้ำมัน

– ระยะการเจริญเติบโตของพืชในช่วงต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป หรือปาล์มที่ปลูกซ้ำแปลงเดิม ปัญหาที่ควรระวัง 1. โรคล้าต้นเน่า (เชื้อรา Ganoderma boninense)

– ระยะการเจริญเติบของพืชในช่วงต้นกล้า ปัญหาที่ควรระวัง 1. โรคใบไหม้ (เชื้อรา Curvularia oryzae)